วันอาทิตย์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

วิจัย



บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง        การพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต  แฟนฟิกชั่น     ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5

ผู้วิจัย             ศิลนภา   ปัญญาพิม       วิไลลักษณ์     บุตรพรม
                      สุจิตรา    วิชาพูล          จันทิรา         พันธ์สิงห์

อาจารย์ที่ปรึกษา      รองศาสตราจารย์ ดร. ธูปทอง  กว้างสวาสดิ์

มหาวิทยาลัย           มหาวิทยาลัยมหาสารคาม


บทคัดย่อ

     งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ(1)พัฒนากิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2)เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 (3)เพื่อเปรียบเทียบผลการจัดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรมโดยการใช้อินเทอร์เน็ต  แฟนฟิกชั่นของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 40 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองและเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แผนการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นเป็นสื่อในการเรียนรู้ จำนวน 3 แผน แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน งานวิจัยปรากฏผลดังต่อไปนี้ (1)การจัดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต  แฟนฟิกชั่นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 63.00/59.83 ซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์ 75/75 ที่กำหนดไว้ ( 2)ดัชนีประสิทธิผลของการจัดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต  แฟนฟิกชั่นในการพัฒนาความสามารถของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีค่าเท่ากับ 0.44 ซึ่งหมายความว่า ผู้เรียนมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 44 (3) ผลการเปรียบเทียบการจัดกิจกรรมการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ก่อนและหลังการปฏิบัติกิจกรรมโดยใช้อินเทอร์เน็ต  แฟนฟิกชั่น มีผลสัมฤทธิ์ในการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์สูงขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์โดยใช้อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นบรรลุวัตถุประสงค์ อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นได้กลายเป็นเครื่องมือการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพต่อผู้เรียนและนักการศึกษาในการพัฒนาการเขียนภาษาอังกฤษเชิงสร้างสรรค์ อินเทอร์เน็ต แฟนฟิกชั่นช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนอยากเขียนภาษาอังกฤษทำให้ผู้เรียนมีความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษดีขึ้นและมีทัศนคติที่ดีในการเขียนภาษาอังกฤษ

English version

วิจัยบทที่ 1

วิจัยบทที่ 2

วิจัยบทที่ 3

วิจัยบทที่ 4

วิจัยบทที่ 5

บรรณานุกรม




My Research

Research


TITLE Developing Creative English Writing skills by using Internet Fanfiction

AUTHORS Silanapa  Panyapim            Wilailak  Butprom
        Suchittra  Wichapoon          Juntira  Punsing

ADVISOR  Assoc. Prof. Dr. Thooptong Kwangsawad

UNIVERSITY  Mahasarakham University


ABSTRACT

This study aimed to (1) design creative English writing activities by using Internet Fanfiction  with a required efficiency of 75/75 (2) examine the effectiveness indexes of using Internet Fanfiction to develop creative English writing skills (3) compare the results of creative English writing skills before and after using Internet Fanfiction. The samples were 40 grade 9 students selected by cluster random sampling. The instruments used in the experiment were 3 lesson plans to improve creative English writing skills by using Internet Fanfiction, a pre-test and a post-test. The data were statistically analyzed by mean, percentage, standard deviation and t-test. The results of the study were: (1) creative English writing skills which were designed by using Internet Fanfiction  reached an efficiency of  63.00  / 59.83  This was lower than the criterion (75/75). (2) The index of the effectiveness of the activities of creative English writing was 0.44This indicated that the students were able to improve their learning after they reached an effectiveness level of 44%. (3) The post-test scores of the students were significantly higher than pre-test scores of the students at the .05 level.
      It shows that using Internet Fanfiction to improve creative English writing skills has achieved the goals. Internet Fanfiction  has become a powerful instructional tool for both students and educators to develop creative English writing, to inspire the learners to dare to write in English, to make them write better, and to think positively about writing English.




Lesson 1

Lesson 2

Lesson 3

Lesson 4

Lesson 5

Reference




วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

Song for teaching


Finger Family







 Twinkle Twinkle Little Star




Whats the Weather Like Today?




Transportation Song by Peter Weatherall






Head Shoulders Knees And Toes







What Color is the Sky? 




                                         The Hello Song









วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2555

Culture


  Halloween

Halloween
       

View more presentations from Aiw.


Christmas party









 

Social Service

Social Service with my friends.








English Camps











Lesson Plan : Writing skills

Writing Skills



English version

     Writing is a skill that must be thought through several stages of thought, including order the ideas and choose words to convey the wanted topic. 
     Writing skills are required the understanding of the structure, grammar, vocabulary, expressions, sentence patterns. As well as other skills, students will need to keep practicing and learn to write. In addition, the writing and reading skills are linked. If students have read a lot, they’ll see how to write patterns, concept of communication of the author. This will result in a model for writing for their own

The Writing Process: Prewriting, Writing, Revising, and Proofreading
The four steps of the writing process are: prewriting, writing, revising, and proofreading.
  • PreWriting - Whatever type of writing a student is attempting, the prewriting stage can be the most important. This is when students gather their information, and begin to organize it into a cohesive unit. This process can include reading, taking notes, brainstorming, and categorizing information. Prewriting is the most creative step and most students develop a preferred way to organize their thoughts. Stream of consciousness writing, graphic organizers, outlines, or note cards are popular techniques. Many of these tools are already accommodated through Time4Learning’s Odyssey Writer program. Often this stage is best taught by a parent modeling the different methods, perhaps a different one each week until the student finds which one works best for him.
  • Writing -The actual writing stage is essentially just an extension of the prewriting process. The student transfers the information they have gathered and organized into a traditional format. This may take the shape of a simple paragraph, a one-page essay, or a multi-page report. Up until this stage, they may not be exactly certain which direction their ideas will go, but this stage allows them to settle on the course the paper will take. Teaching about writing can sometimes be as simple as evaluation good literature together, and exploring what makes the piece enjoyable or effective. It also involves helping a student choose topics for writing based on their personal interests. Modeling the writing process in front of your child also helps them see that even adults struggle for words and have to work at putting ideas together.
  • Revising , or editing is usually the least favorite stage of the writing process, especially for beginning writers. Critiquing one’s own writing can easily create tension and frustration. But as you support your young writers, remind them that even the most celebrated authors spend the majority of their time on this stage of the writing process. Revising can include adding, deleting, rearranging and substituting words, sentences, and even entire paragraphs to make their writing more accurately represent their ideas. It is often not a one-time event, but a continual process as the paper progresses. When teaching revision, be sure to allow your child time to voice aloud the problems they see in their writing. This may be very difficult for some children, especially sensitive ones, so allow them to start with something small, such as replacing some passive verbs in their paper with more active ones.
  • Proofreading - This is a chance for the writer to scan his or her paper for mistakes in grammar, punctuation, and spelling. Although it can be tempting for parents to perform this stage of the writing process for the child, it is important that they gain proofreading skills for themselves as this improves a student’s writing over time. And because children want their writing to be effective, this can actually be the most opportune to teach some of the standard rules of grammar and punctuation. When students learn the rules of mechanics during the writing process they are much more likely to remember to use them in the future. Odyssey Writer’s built in spelling checker and self-assessment rubric are wonderful tools to aid in strengthening a student’s revision and proof-reading skills                                                                           
  • credit : http://www.time4learning.com/teaching-writing.shtml

Writing Skills (ทักษะการเขียน)


Thai version



เทคนิคการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษ (Writing Skill)

                การเขียน คือ การสื่อสารให้ผู้อื่นได้รับรู้ด้วยข้อความเป็นลายลักษณ์อักษร มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดความคิดของผู้ส่งสารคือผู้เขียนไปสู่ผู้รับสารคือผู้อ่าน มากกว่าการมุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำและหลักไวยากรณ์ หรือ อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเขียนเป็นการสื่อสารที่มุ่งเน้นความคล่องแคล่ว( Fluency) ในการสื่อความหมาย มากกว่าความถูกต้องของการใช้ภาษา ( Accuracy) อย่างไรก็ตาม กระบวนการสอนทักษะการเขียน ยังจำเป็นต้องเริ่มต้นจากการสร้างระบบในการเขียน จากความถูกต้องแบบควบคุมได้ (Controlled Writing) ไปสู่การเขียนแบบควบคุมน้อยลง (Less Controlled Writing) อันจะนำไปสู่การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) ได้ในที่สุด
               การฝึกทักษะการเขียนสำหรับผู้เรียนระดับต้น สิ่งที่ผู้สอนต้องคำนึงถึงให้มากที่สุด คือ ต้องให้ผู้เรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับ คำศัพท์ ( Vocabulary) กระสวนไวยากรณ์ ( Grammar Pattern) และเนื้อหา ( Content) อย่างเพียงพอที่จะเป็นแนวทางให้ผู้เรียนสามารถคิดและเขียนได้ ซึ่งการสอนทักษะการเขียนในระดับนี้ อาจมิใช่การสอนเขียนเพื่อสื่อสารเต็มรูปแบบ แต่จะเป็นการฝึกทักษะการเขียนอย่างเป็นระบบที่ถูกต้อง อันเป็นรากฐานสำคัญในการเขียนเพื่อการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพในระดับสูงได้ต่อไป ครูผู้สอนควรมีความรู้และความสามารถในการจัดการเรียนรู้เพื่อฝึกทักษะการเขียนให้แก่ผู้เรียนได้อย่างไร ผู้เรียนจึงจะมีทักษะการเขียนภาษาอังกฤษที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

                1. เทคนิควิธีปฎิบัติ 

           การฝึกทักษะการเขียน มี 3 แนวทาง คือ 
                 1.1 การเขียนแบบควบคุม (Controlled Writing) เป็นแบบฝึกการเขียนที่มุ่งเน้นในเรื่องความถูกต้องของรูปแบบ เช่น การเปลี่ยนรูปทางไวยากรณ์ คำศัพท์ในประโยค โดยครูจะเป็นผู้กำหนดส่วนที่เปลี่ยนแปลงให้ผู้เรียน ผู้เรียนจะถูกจำกัดในด้านความคิดอิสระ สร้างสรรค์ ข้อดีของการเขียนแบบควบคุมนี้ คือ การป้องกันมิให้ผู้เรียนเขียนผิดตั้งแต่เริ่มต้น กิจกรรมที่นำมาใช้ในการฝึกเขียน เช่น 
                Copying , เป็นการฝึกเขียนโดยการคัดลอกคำ ประโยค หรือ ข้อความที่กำหนดให้ ในขณะที่เขียนคัดลอก ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้การสะกดคำ การประกอบคำเข้าเป็นรูปประโยค และอาจเป็นการฝึกอ่านในใจไปพร้อมกัน
               Gap Filing เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ มาเขียนเติมลงในช่องว่างของประโยค ผู้เรียนจะได้ฝึกการใช้คำชนิดต่างๆ (Part of Speech) ทั้งด้านความหมาย และด้านไวยากรณ์
               Re-ordering Words, เป็นการฝึกเขียนโดยเรียบเรียงคำที่กำหนดให้ เป็นประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำในประโยคอย่างถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ และเรียนรู้ความหมายของประโยคไปพร้อมกัน
               Changing forms of Certain words เป็นการฝึกเขียนโดยเปลี่ยนแปลงคำที่กำหนดให้ในประโยค ให้เป็นรูปพจน์ หรือรูปกาล ต่างๆ หรือ รูปประโยคคำถาม ประโยคปฏิเสธ ฯลฯ ผู้เรียนได้ฝึกการเปลี่ยนรูปแบบของคำได้อย่างสอดคล้องกับชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค 
               Substitution Tables เป็นการฝึกเขียนโดยเลือกคำที่กำหนดให้ในตาราง มาเขียนเป็นประโยคตามโครงสร้างที่กำหนด ผู้เรียนได้ฝึกการเลือกใช้คำที่หลากหลายในโครงสร้างประโยคเดียวกัน และได้ฝึกทำความเข้าใจในความหมายของคำ หรือประโยคด้วย
              1.2 การเขียนแบบกึ่งควบคุม (Less – Controlled Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่มีการควบคุมน้อยลง และผู้เรียนมีอิสระในการเขียนมากขึ้น การฝึกการเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเค้าโครงหรือรูปแบบ แล้วให้ผู้เรียนเขียนต่อเติมส่วนที่ขาดหายไปให้สมบูรณ์ วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้มากขึ้น อันจะนำไปสู่การเขียนอย่างอิสระได้ในโอกาสต่อไป กิจกรรมฝึกการเขียนแบบกึ่งอิสระ เช่น
                Sentence Combining เป็นการฝึกเขียนโดยเชื่อมประโยค 2 ประโยคเข้าด้วยกัน ด้วยคำขยาย หรือ คำเชื่อมประโยค ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรียบเรียงประโยคโดยใช้คำขยาย หรือคำเชื่อมประโยค ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
                 Describing People เป็นการฝึกการเขียนบรรยาย คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ โดยใช้คำคุณศัพท์แสดงคุณลักษณะของสิ่งที่กำหนดให้ ผู้เรียนได้ฝึกการใช้คำคุณศัพท์ขยายคำนามได้อย่างสอดคล้อง และตรงตามตำแหน่งที่ควรจะเป็น 
                Questions and Answers Composition เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราว ภายหลังจากการฝึกถามตอบปากเปล่าแล้ว โดยอาจให้จับคู่แล้วสลับกันถามตอบปากเปล่าเกี่ยวกับเรื่องราวที่กำหนดให้ แต่ละคนจดบันทึกคำตอบของตนเองไว้ หลังจากนั้น จึงให้เขียนเรียบเรียงเป็นเรื่องราว 1 ย่อหน้า ผู้เรียนได้ฝึกการเขียนเรื่องราวต่อเนื่องกัน โดยมีคำถามเป็นสื่อนำความคิด หรือเป็นสื่อในการค้นหาคำตอบ ผู้เรียนจะได้มีข้อมูลเป็นรายข้อที่สามารถนำมาเรียบเรียงต่อเนื่องกันไปได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
                  Parallel Writing เป็นการฝึกการเขียนเรื่องราวเทียบเคียงกับเรื่องที่อ่าน โดยเขียนจากข้อมูล หรือ ประเด็นสำคัญที่กำหนดให้ ซึ่งมีลักษณะเทียบเคียงกับความหมายและโครงสร้างประโยค ของเรื่องที่อ่าน เมื่อผู้เรียนได้อ่านเรื่องและศึกษารูปแบบการเขียนเรียบเรียงเรื่องนั้นแล้ว ผู้เรียนสามารถนำข้อมูลหรือประเด็นที่กำหนดให้มาเขียนเลียนแบบ หรือ เทียบเคียงกับเรื่องที่อ่านได้
                    Dictation เป็นการฝึกเขียนตามคำบอก ซึ่งเป็นกิจกรรมที่วัดความรู้ ความสามารถของผู้เรียนในหลายๆด้าน เช่น การสะกดคำ ความเข้าใจด้านโครงสร้างประโยค ไวยากรณ์ รวมถึงความหมายของคำ ประโยค หรือ ข้อความที่เขียน

                    1.3 การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing) เป็นแบบฝึกเขียนที่ไม่มีการควบคุมแต่อย่างใด ผู้เรียนมีอิสระเสรีในการเขียน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิด จินตนาการอย่างกว้างขวาง การเขียนในลักษณะนี้ ครูจะกำหนดเพียงหัวข้อเรื่อง หรือ สถานการณ์ แล้วให้ผู้เรียนเขียนเรื่องราวตามความคิดของตนเอง วิธีการนี้ ช่วยให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะความสามารถในการเขียนได้เต็มที่ ข้อจำกัดของการเขียนลักษณะนี้ คือ ผู้เรียนมีข้อมูลที่เป็นคลังคำ โครงสร้างประโยค กระสวนไวยากรณ์เป็นองค์ความรู้อยู่ค่อนข้างน้อย ส่งผลให้การเขียนอย่างอิสระนี้ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร 
                    2. เอกสารอ้างอิง 
                    1. กระทรวงศึกษาธิการ. ชุดฝึกอบรมครูสอนภาษาอังกฤษ ชุดที่ 3 Teaching 4 Skills สำหรับวิทยากร: กรุงเทพฯ:โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2539. 
                    2. อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด. คู่มือการพัฒนาหลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) ช่วงชั้นที่ 1-2 (ป.1-ป.6) ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : บุ้ค พอยท์, 2546.
                   3. บทเรียนที่ได้ (ถ้ามี)
                   
                     การสอนทักษะการเขียน โดยใช้กิจกรรมที่นำเสนอข้างต้น จะช่วยพัฒนาคุณภาพทักษะการเขียนของผู้เรียนให้สูงขึ้น ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความถี่ในการฝึกฝน ซึ่งผู้เรียนควรจะได้รับการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ทักษะการเขียนที่ดี จะนำไปสู่การสื่อสารที่สร้างความเข้าใจให้แก่ผู้อ่านสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
                       
         คำสำคัญ ( Keywords)
                        1. ทักษะการเขียน
                        2. การเขียนแบบควบคุม ( Controlled Writing)
                        3. การเขียนแบบกึ่งควบคุม ( Less Controlled Writng
                         4. การเขียนแบบอิสระ ( Free Writing)





Sample Video:Writing Skills






Sample Lesson:Writing Skills